เสือโคร่งอินโดจีน
“แมวใหญ่จ้าวป่า ลายพาดสะดุดตา ท่าเดินสง่าแต่น่ากลัวนะ!”
ชื่อไทย : เสือโคร่งอินโดจีน
ชื่อสามัญ : Indo chinese tiger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panthera tigis corbetti Mazak,1968
ขนาด : ความยาวลำตัวและหัว 140-280 ซม.
นำ้หนัก : 150-200 กิโลกรัม



Describe your image.

เสือโคร่งอินโดจีน
เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทยทำหน้าที่ในการควบคุมประชากรช่วยในการคัดเลือกพันธุ์และมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสัตว์ที่เป็นเหยื่อ เสือโคร่งจึงเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของ
ปิรามิดอาหาร
ดังนั้นเมื่อสัตว์ที่เป็นเหยื่อของเสือโคร่ง ได้แก่ วัวแดง กระทิง กวางป่า ถูกล่าเป็นจำนวนมากและสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่อาศัยที่เป็นที่ราบใกล้แหล่งน้ำถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และยังมีการล่าเสือโคร่งเพื่อเอาหนังและกระดูก เสือโคร่งจึงได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโดยตรง
อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES)จัดเสือโคร่งไว้ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix I)และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN)จัดเสือโคร่งไว้ในประเภทสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ (VU - Vulnerable species) ระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อความเป็นอันตรายจากการสูญพันธุ์จากที่อาศัยตามธรรมชาติ
ลักษณะ เสือโคร่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลเสือทั้งหมด มีพละกำลังและแข็งแรงมากอุ้งเท้าใหญ่ มีเล็บแหลมคม หูมีลักษณะกลม ตั้งและมีขอบสีดำ ตรงกลางเป็นสีขาว ตาสีเหลืองทอง มีขนยาวสีขาวบริเวณใบหน้าและแก้ม โดยขนบริเวณนี้ในตัวผู้จะยาวมากกว่าตัวเมีย ลำตัวสีเข้มแดง หรือเหลืองทองมีแถบดำพาดผ่านเช่นเดียวกับบริเวณลำตัว จึงทำให้ดูเป็นปล้องๆ พบว่ามีการกระจายพันธุ์ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า และมาเลเซีย
นิเวศวิทยาและพฤติกรรม
เสือโคร่งมีอาณาเขตครอบครองในการหาอาหารกว้างขวาง ว่ายน้ำเก่งมาก ชอบอาศัยในป่าใกล้แหล่งนำ้และมีอาหารสมบูรณ์ ออกหาอาหารได้ทั้งกลางวันและกลางคืน มักหาอาหารตามลำพัง ถ้าในช่วงที่ตัวเมียมีลูกอ่อน ตัวผู้จะช่วยหาอาหารและดูแลลูก ล่าสัตว์ใหญ่เป็นอาหารได้แก่ วัวป่า ควาย เก้ง กวาง กระทิง มักกินส่วนตะโพกก่อน ถ้าเหลือจะนำซากไปซ่อนแล้วกลับมากินจนหมด อาจมีพบกินลูกเสือโคร่งที่ยังเล็กเป็นอาหารได้ เสือตัวผู้จะแสดงความเป็นเจ้าของเขตแดนด้วยการตะกุยดินหรือปัสสาวะรดต้นไม้ ในฤดูผสมพันธุ์ ตัวเมียจะส่งเสียงร้องถี่ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากตัวผู้ เสือตัวผู้จะผสมพันธุ์กับตัวเมียได้หลายตัว จะหลีกเลี่ยงการปะทะต่อสู้เพื่อรักษาพลังงานและป้องกันการบาดเจ็บ เสือตัวเมียใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 3เดือน คลอดลูกครั้งละ1-7ตัว ลูกเสือจะถูกสอนให้ล่าเหยื่อเป็นอาหารได้ด้วยตนเอง เมื่อลูกเสือโตเต็มวัยสามารถล่าเหยื่อได้ แม่เสือก็จะแยกออกไป
เสือโคร่ง มีความสำคัญในระบบนิเวศช่วยควบคุมไม่ให้มีสัตว์กินพืชมากเกินไป ละช่วยกำจัดสัตว์ที่อ่อนแอหรือเป็นโรค และควบคุมปริมาณสัตว์นักล่าอื่นๆ อีกทั้งซากเนื้อสัตว์ที่เสือโคร่งล่าไว้ก็กลายเป็นอาหารของสัตว์อื่นเช่นเดียวกัน
We don’t have any products to show here right now.



Describe your image.
