

น้ำกับชีวิต – แหล่งน้ำแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำและระบบนิเวศชายฝั่ง
ป่าชายเลน
เป็นกลุ่มของสังคมพืช ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีลักษณะทางเสรีวิทยา และการปรับตัวทางโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน และการขึ้นของพรรณไม้ในป่าชายเลน จะขึ้นอยู่กับแนวเขต ซึ่งผิดแปลกไปจากสังคมพืชป่าบก ทั้งนี้เพราะอิทธิพลจากลักษณะของดิน ความเค็มของน้ำทะเล และการขึ้นลงของน้ำทะเลเป็นสำคัญ
พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าชายเลนมีมากมายหลายชนิด พรรณไม้ที่มีอยู่ค่อนข้างมากกว่าพรรณไม้ชนิดอื่นๆ ได้แก่ ต้นโกงกาง ต้นแสม ต้นลำพู และต้นจาก พรรณไม้เหล่านี้จะมีโคนต้นและรากที่มีลักษณะแปลกพิเศษกว่าต้นไม้ทั่วๆ ไป เช่น ต้นโกงกางมีรากค้ำ ที่มีรูปร่างเหมือนสุ่ม ต้นลำพูมีรากอากาศงอกขึ้นรอบๆ โคนต้น ซึ่งรากในลักษณะนี้จะช่วยกักเก็บตะกอน และอินทรียสารที่ถูกแม่น้ำพามา ทำให้พื้นดินในบริเวณป่าชายเลนมีปริมาณสารอาหาร สำหรับหาดทะเล สูงกว่าหาดเลนธรรมดา ที่ไม่มีป่าปกคลุม
การปรับตัวของสัตว์ในป่าชายเลน
สัตว์ในป่าชายเลน ต้องมีการปรับต่อสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงความเค็ม สภาวะการสูญเสียน้ำ สภาวะที่มีอุณหภูมิสูง มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต่ำ และสภาวะการสัมผัสกับอากาศในขณะที่น้ำลง
1. การปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงความเค็ม
2. การปรับตัวต่อสภาวะอุณหภูมิสูง และสภาวะการสูญเสียน้ำจากตัว เช่น ปูก้ามดาบจะหากินในขณะที่น้ำลง และมักจะหากินในบริเวณที่ไม่ไกลจากรูของมัน ทั้งนี้เพราะมันต้องวิ่งลงรูเป็นระยะๆ เพื่อให้ได้รับความชื้น และแก้ปัญหาการสูญเสียน้ำออกจากตัว ถ้าอากาศภายนอกยิ่งร้อน ความถี่ในการวิ่งลงรูของปูก้ามดาบ ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น และในสภาพที่น้ำลงมากผิดปกติในช่วงน้ำตาย คือ น้ำจะลงเป็นช่วงเวลานานมากมันก็จะแช่ตัวอยู่ในรูตลอดเวลา
3. การปรับตัวเรื่องการหายใจ สัตว์ในป่าชายเลนใช้ออกซิเจนจากอากาศ หรือใช้ออกซิเจน ทีjละลายอยู่ในน้ำ
4. การปรับตัวด้านการกินอาหารและการหาอาหาร สัตว์ในป่าชายเลนมักจะไม่พึ่งพาอาหารพวกอินทรียสารจากซากใบไม้เพียงอย่างเดียว หรือพึ่งเฉพาะพืชสีเขียวอย่างเดียว มันมักจะกินอาหารทั้งสองชนิดพร้อมๆ กัน
5. การปรับตัวด้านการสืบพันธุ์ สัตว์ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง มักจะดำรงชีพเป็นแบบกึ่งสัตว์บก เมื่อเจริญวัยเต็มที่ แต่ตัวอ่อนส่วนใหญ่มักจะอยู่ในน้ำ ดังนั้นช่วงระยะการสืบพันธุ์ต้องเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับจะปล่อยเชื้อสืบพันธุ์ลงในน้ำที่มีสภาพแวดล้อมที่ ช่วงเวลาในการปล่อยเชื้อสืบพันธุ์ หรือวางไข่ของปูในป่าชายเลน มักเป็นช่วงเวลาที่บริเวณที่ปูอาศัยอยู่นั้น มีน้ำท่วมเต็มไปหมด