
2. ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์
(Species diversity)
หมายถึงจำนวนประเภทชนิด และจำนวนปริมาณหน่วยสิ่งมีชีวิตที่เป็นสมาชิก ของแต่ละชนิดที่มีอยู่ในพื้นที่หนึ่งนั่นเอง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้กำหนด สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่วิวัฒนาการอยู่บนโลกนี้ในปัจจุบันมีจำนวนชนิดอยู่ระหว่าง 2-30 ล้านชนิด โดยที่มีบันทึกอย่างเป็นทางการแล้วประมาณ 1.4 ล้านชนิด
แบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร ดังนี้
ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์สามารถ แบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร ดังนี้คือ
1. อาณาจักรโมเนอรา (Kingdom Monera)
มีสมาชิกประมาณ 6,000 สปีชีส์ เช่น แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue green algae)
2. อาณาจักรโพรติสตา (Kingdom Protista)
มีสมาชิกประมาณ 60,000 สปีชีส์ เช่น สาหร่าย โปรตัวซัว แพลงตอน
3. อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
มีสมาชิกประมาณ 250,000 สปีชีส์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้คลอโรฟิลล์สีเขียวเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นอาหารและคายก๊าซออกซิเจน พืชมีบทบาทสำคัญต่อวัฎจักรน้ำและเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของบรรยากาศ นอกจากนั้นยังมีบทบาทที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของดินด้วยการดูดซับธาตุอาหาร อันได้แก่ คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและกำมะถัน พืชจึงเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตบนโลก
4. อาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi)
มีสมาชิกประมาณ 70,000 สปีชีส์เป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งบริโภคสารอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตอื่นสร้างไว้ เช่น เห็ดมักขึ้นอยู่ตามซากต้นไม้ ราและยีสต์มักขึ้นอยู่ตามอาหาร เห็ดราบางชนิดสามารถดูดกลืนสารอินทรีย์จากพื้นดินได้โดยตรง ไลเคนสามารถอาศัยอยู่บนพื้นหินแข็ง พวกมันมีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของป่าเป็นอย่างมาก เนื่องจากความสามารถในการดูดกลืนน้ำและการทำปฏิกิริยาทางเคมี
5. อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)
มีสมาชิกประมาณ 1,000,000 สปีชีส์ มีการบริโภคเป็นระบบห่วงลูกโซ่อาหารเป็นชั้นๆ เช่น กวางกินหญ้า เสือกินกวาง นกแร้งกินเสือ เป็นต้น สัตว์ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีชีวภาพ เป็นต้นว่า กระดูกและกระดองสร้างจากแคลเซียมคาร์บอเนต การหายใจของสัตว์ควบคุมปริมาณก๊าซออกซิเจนในบรรยากาศไม่ให้มากเกินไป สายพันธุ์ของมนุษย์ (Homo) เพิ่งแยกออกมาจากสายพันธุ์ของลิงเมื่อ 3 ล้านปีก่อน สปีชีส์โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) ของมนุษย์ในปัจจุบันเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2 แสนปีก่อนนี้