top of page
  • White Facebook Icon
  • White Twitter Icon
  • White Instagram Icon

ความสัมพันธ์ของผีเสื้อและดอกไม้

ความสัมพันธ์ของผีเสื้อและดอกไม้เป็นตัวแทนของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นใน ลักษณะที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน เป็นการอยู่ร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิต ๒ ชนิด ที่ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์กันและกัน แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลา นั่นคือ บางครั้งอาจอยู่ด้วยกัน บางครั้งก็อาจแยกใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังได้ 

 

พืชแต่ละชนิดจะติดผลหรือมีเมล็ดไว้ใช้ขยายพันธุ์ต่อไปได้จะต้องมีการผสมเกสร พืชบางชนิดเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ก็จะผสมกันเองได้ แต่ยังมีพืชอีกหลายชนิดเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่คนละดอกหรือคนละต้น จำเป็นต้องอาศัยสิ่งอื่นช่วยในการผสมเกสร ลมเป็นพาหะสำคัญช่วยพัดเกสรตัวผู้ไปตกบนยอดเกสรตัวเมีย แต่มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของต้นไม้ทั้งหมด อาศัยสิ่งมีชีวิต

ดอกไม้เป็นส่วนหนึ่งของพืชที่ใช้สีสันความงามของกลีบดอก หรือใช้กลิ่นหอมดึงดูดให้ผีเสื้อเข้ามาตอมและดูดกินน้ำหวานเป็นสิ่งตอบแทน ผีเสื้อที่ดูดกินน้ำหวานจากดอกไม้ มันก็จะช่วยผสมเกสรให้กับดอกไม้ เนื่องจากผีเสื้อจะอาศัยอาหารที่ให้โปรตีนและอาศัยนํ้าหวานเป็นอาหารที่ให้พลังงาน เกสรดอกไม้จะติดตามตัวผีเสื้อจากดอกหนึ่งไปอีกดอกหนึ่งในขณะที่ผีเสื้อลงกินเกสรและน้ำหวานจากดอกไม้ไปด้วยพร้อมกัน

ผีเสื้อเป็นตัวแทนของแมลงที่ช่วยผสมเกสรดอกไม้ ซึ่งมีทั้งพวกผีเสื้อกลางวัน และผีเสื้อกลางคืนชนิดต่างๆแล้ว แต่แมลงมีทั้งหมดในโลกมีประมาณ 30,000 ชนิด แมลงจึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ช่วยผสมเกสรดอกไม้มากที่สุด นอกจากผีเสื้อแล้วยังมีแมลงชนิดอื่นๆ อีก เช่น

• พวกผึ้ง ได้แก่ ตัวชันโรง ผึ้งหึ่งบอมบัส ผึ้งกัดใบ ผึ้งอัลคาไล แมลงภู่และผึ้งป่าชนิดต่าง ๆ

• พวกต่อ แตน ต่อเบียน แตนเบียน มด

• พวกแมลงวัน ได้แก่ แมลงวันผึ้ง แมลงวันหัวเขียว แมลงวันบ้าน เป็นต้น

• พวกด้วง ได้แก่ แมลงนูน ด้วงผลไม้ ด้วงถั่ว ด้วงงวง

• พวกมวนและเพลี้ยต่างๆ

         รวมไปถึงสัตว์ชนิดอื่นในการผสมเกสร เช่น หอยทาก แมงมุม ไร นก ค้างคาว เป็นต้น

© 2023 by THEPANTZPOLE. Proudly created with Wix.com

bottom of page