กระทิง
“ เขาโง้งคล้ายวัว ตัวดำทะมึน ร่างกายบึกบึน อยู่ในป่าลึก”
ชื่อไทย : กระทิง หรือเมย(อีสาน)
ชื่อสามัญ : Gaur
ชื่อวิทยาศาสตร์: Bos saurus Smith,1827
ขนาด : ความยาวลำตัวและหัว 250-300 ซม. ความยาวหาง 70-105 ซม.
นำ้หนัก : 650-900 กิโลกรัม
(กระทิงตัวผู้จะมีนำ้หนักมากกว่าตัวเมียมาก)



Describe your image.

กระทิง
เป็นสัตว์ที่ช่วยรักษาความสมดุลต่อระบบนิเวศ บทบาทสำคัญของกระทิงที่มีต่อพืช และสัตว์ต่างๆในป่าด้วยกันมีลักษณะที่เกื้อกูลพึ่งพากันและกัน ได้แก่ การเป็นสัตว์เบิกนำในการค้นหาแหล่งพืชอาหาร แหล่งน้ำ แหล่งดินโป่ง ซึ่งสัตว์อื่นๆก็ได้อาศัยประโยชน์จากการติดตามทางเดินของกระทิง รวมทั้งการจำการกระจายของแหล่งพืชอาหารที่ผันแปรตามฤดูกาล เส้นทาง การเคลื่อนย้ายหากิน ที่เรียกว่าด่านกระทิง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสัตว์กินพืชชนิดอื่นๆ เช่น เก้ง กวาง วัวแดง เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า เช่น ลูกส้าน กระท้อนป่า มะหาด มะม่วงป่า มะกอกป่า อีกด้วย
อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES)จัดกระทิงไว้ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix I)และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN)จัดกระทิงไว้ในประเภทสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ (VU - Vulnerable species) ระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อความเป็นอันตรายจากการสูญพันธุ์จากที่อาศัยตามธรรมชาติ
ลักษณะ รูปร่างคล้ายวัว มีขนาดใหญ่ กระทิงตัวผู้มีจนาดใหญ่กว่ากระทิงตัวเมีย ขนตามลำตัวมีสีดำ ขนบริเวณเหนือหน้าผากออกสีเทา หรือสีเหลืองและมีขนสีนำ้ตาลอ่อนปกคลุมหน้าากเรียกว่า “หน้าโพ” ขาทั้งสี่ข้างตั้งแต่เหนือหัวเข่าลงไปจนถึงกีบเท้ามีสีขาว หรือสีเหลือง มองดูคล้ายสวมถุงเท้า เขาของกระทิงมีสีเหลืองมะกอก ปลายเขามีสีดำ ที่โคนเขามีรอยย่นซึ่งเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย ลูกกระทิงเกิดใหม่จะมีสีนำ้ตาลแกมแดงเหมือนสีขน มีเส้นสีดำพาดผ่านกลางหลัง ลูกกระทิงตอนเล็กๆจะไม่มีถุงเท้าเหมือนพ่อแม่ พบว่ามีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของจีน อินเดีย เนปาล ภูฏาน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เวียดนาม
นิเวศวิทยา และพฤติกรรม
กระทิงเป็นสัตว์สังคม มักอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีสมาชิกตั้งแต่ 2-50ตัว สมาชิกประกอบด้วยตัวเมียและลูกเป็นส่วนใหญ่ ลูกกระทิงตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยจะถูกขับออกจากฝูง ซึ่งเป็นกระบวนการทางธรรมชาติ เพื่อป้องกันการผสมพันธ์ุกันเองในเครือญาติ เมื่ออายุมากขึ้น มันอาจจะไปต่อสู้กับจ่าฝูงอื่นเพื่อ ครอบครองตัวเมียในฝูงนั้น ถ้าแพ้ก็จะกลายเป็นกระทิงโทนต่อไป มักออกหากินในเวลาเย็นและกลางคืน และจะพักผ่อนนอนหลับในเวลากลางวัน จะสำรวจบริเวณโดยรอบ ถ้าเป็นไปได้จะเลือกบริเวณที่มันสามารถมองเห็นได้โดยรอบ เพื่อป้องกันการรบกวนจากศัตรู ได้แก่ มนุษย์และเสือโคร่ง มักจะนอนหลับในท่ายืน แต่บางตัวอาจนอนราบกับพื้น



Describe your image.
