top of page
  • White Facebook Icon
  • White Twitter Icon
  • White Instagram Icon

กลายเป็นผู้รุกราน

 

ระบบนิเวศ: เป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ กับบริเวณแวดล้อม ที่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นดำรงอยู่ การทำความเข้าใจกับระบบธรรมชาติ หรือระบบนิเวศ จะช่วยให้มนุษย์เรารู้จักใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

 

เราสามารถจำแนกระบบนิเวศออกเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้
1. ระบบนิเวศทางธรรมชาติ เป็นระบบที่ต้องพึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์เพื่อที่จะทำงานได้ ได้แก
1.1 ระบบนิเวศแหล่งน้ำ แบ่งเป็นระบบนิเวศทางทะเล เช่น มหาสมุทร แนวปะการังทะเล และระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น
1.2 ระบบนิเวศบนบก แบ่งเป็นระบบนิเวศกึ่งบก เช่น ป่าพรุ และระบบนิเวศบกแท้ เช่น ป่าดิบ ทุ่งหญ้า ทะเลทราย เป็นต้น

 

2. ระบบนิเวศเมือง-อุตสาหกรรม เป็นระบบที่ต้องพึ่งแหล่งพลังงานเพิ่มเติม เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง พลังนิวเคลียร์ เป็นระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใหม่
 

3. ระบบนิเวศเกษตร เป็นระบบที่มนุษย์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทางธรรมชาติขึ้นมาใหม่

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive alien species)

 

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (alien species) หมายถึง ชนิดพันธุ์ที่เกิดขึ้นในที่ที่แตกต่างจากพื้นที่การแพร่กระจายตามธรรมชาติ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นบางชนิดแพร่ระบาดจนกลายเป็นรุกราน (invasive alien species) หมายถึงว่า ชนิดพันธุ์นั้นคุกคามระบบนิเวศ แหล่งที่อยู่อาศัย หรือชนิดพันธุ์อื่นๆ มีหลายปัจจัยที่มีผลเกื้อหนุนให้ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นตั้งรกรากและรุกรานในที่สุด เป็นที่ทราบกันว่า อิทธิพลทางกายภาพและทางเคมีที่มนุษย์ มีต่อระบบนิเวศได้เพิ่มโอกาสให้ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น กลายเป็นชนิดพันธุ์ที่แพร่ระบาดและรุกราน

 

การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นถือได้ว่าเป็นภัยร้ายแรงที่คุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก เป็นอันดับสองรองจากการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ในหลายกรณีได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศอย่างสิ้นเชิง เกิดการครอบครองพื้นที่โดยชนิดพันธุ์เดียว และเกิดการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาสำคัญทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สุขอนามัย และสังคม เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นสามารถเข้าไปอยู่ในพื้นที่ใหม่ได้สามแนวทางหลัก คือ

1. การแพร่กระจายเข้าไปโดยความสามารถของชนิดพันธุ์เองเมื่อมีโอกาส

2. การชักนำเข้าไปโดยบังเอิญจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

3. การนำพาโดยผู้คนที่จงใจและมิได้จงใจ

 

ผลกระทบที่สำคัญ

 

ผลกระทบต่อระบบนิเวศ : ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานสามารถเปลี่ยนระดับหรือปริมาณของแสง และลดปริมาณของออกซิเจนที่ละลายในน้ำ, เปลี่ยนโครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของดิน, เพิ่มปริมาณน้ำไหลบนพื้นผิว และการกัดเซาะหน้าดิน ที่สำคัญที่สุดคือ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น สามารถส่งผลกระทบต่อกระบวนการในระบบนิเวศ เช่น วัฏจักรของสารอาหาร, การถ่ายละอองเกสร, การทับถมหรือเกิดชั้นดินขึ้นมาใหม่ และการถ่ายเทพลังงาน นอกจากนี้ยังอาจมีลักษณะหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงภัยธรรมชาติ หรือสภาวะที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เช่น ความถี่, การแพร่กระจาย และความรุนแรงของไฟป่า หรือขัดขวางกระแสน้ำ

ผลกระทบต่อชนิดพันธุ์ในท้องถิ่น : ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีลักษณะเป็นผู้รุกรานจะดำรงชีวิตแบบแก่งแย่ง, แทนที่หรือบริโภคสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นหรืออาจเป็นปรสิต หรือพาหะนำโรค, ลดอัตราการเจริญเติบโตและการอยู่รอดของชนิดพันธุ์ท้องถิ่น หรืออาจทำให้จำนวนประชากรลดลงจนถึงขั้นสูญพันธุ์ และอาจถอนรากถอนโคนหรือทำความเสียหายแก่พืชในท้องถิ่นด้วย

ผลกระทบต่อความหลากหลายทางพันธุกรรม : ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นสามารถลดความหลากหลายทางพันธุกรรมลงได้ จากการสูญเสียจำนวนประชากรที่มีลักษณะเด่นทางพันธุกรรม การสูญเสียยีน และความซับซ้อนของยีน (gene complex) และการผสมข้ามชนิดพันธุ์หรือสายพันธุ์ระหว่างชนิดพันธุ์ต่างถิ่นกับชนิดพันธุ์พื้นเมือง

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ : ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือผันแปรในวงกว้างอยู่ตลอดเวล

 

ประเทศไทยกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

               ประเทศไทยได้มีการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นทั้งพืชและสัตว์มาเป็นเวลานานเพื่อการเกษตรและการประมง นับได้ว่าเป็นหัวใจในการผลิตและพัฒนาอาหารให้กับโลกโดยรวม แต่ในขณะเดียวกันก็มีชนิดพันธุ์ต่างถิ่นผู้รุกรานที่เข้ามาทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายมากมายเช่นกัน ดังเช่น

พืช ได้แก่ ผักตบชวา ผักเป็ดน้ำ จอก ไมยราพยักษ์ฯลฯ

สัตว์ ได้แก่ ปลาซักเกอร์ หอยเชอรี่

 

ความพยายามในการควบคุมและกำจัดชนิดพันธุ์ผู้รุกราน

ขณะนี้ประเทศต่างๆทั่วทุกมุมโลกรวมถึงประเทศไทยให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ได้นำแนวทางหลักการ (guiding principles) การป้องกัน การนำเข้า การแพร่ระบาด การควบคุม และการทำลายของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่คุกคามระบบนิเวศไปปรับใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ

© 2023 by THEPANTZPOLE. Proudly created with Wix.com

bottom of page